Meeting Party ทุกศุกร์แรกของเดือน ณ iOffice หน้ากองบิน 41 เชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เธอ ชื่อ ' คิม ฟุค


 


   
เธอ ชื่อ  ' คิม ฟุค '
(
Kim Phuc is Her Name)
แปลว่า 'ความสุขดุจทองคำ'
 (Golden Happiness)


1972napalmnow.jpg
เบื้องหน้าของ คิม ฟุค


เบื้องหลังของ คิม ฟุค


เบื้องหลังผ่าตัดแล้ว ๑๗ ครั้ง ขณะที่ลูกพี่ลูกน้อง ๒ คนตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว


เธอเกิดที่ Trang Bang  ตะวันตกเฉียงเหนือกรุงไซ่ง่อนในเวียตนามใต้ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖


เวลา  บ่าย ๒ โมง     วันที่  ๘ มิถุนายน ๒๕๑๕  ระเบิดไฟนาปาล์ม ๔ ลูก ถูกทิ้งลงที่บ้านเธอ




ขณะนั้น คิม ฟุค มีอายุ ๙ ขวบ ระเบิดเพลิงตกใส่เธอ เธอถอดเสื้อผ้าที่ไฟกำลังลุกออกแต่ไฟยังคงไหม้บนตัวเธอ


ผู้คนช่วย ราดน้ำบนตัวเธอ   เพื่อดับไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่บนตัวเธอ  จนเธอหมดสติไป


Huynh Cong (Nick) Ut
ช่างภาพ ช่วยพาเธอส่งโรงพยาบาล คอยให้กำลังใจ  และจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ


ภาพของเธอ  ที่ Nick Ut ถ่ายไว้  ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกและได้รับรางวัล Pulitzer ในปีถัดมาคือ พ.ศ. ๒๕๑๖

alan-downes-kim-phuc-itn-vietnam-napalm.jpg
ด้วยรางวัลดังกล่าวช่วยเปลี่ยนชีวิตของเธอและ Nick Ut   แต่เธอต้องทนทุกข์ทรมานจากบาดแผล
ไฟไหม้กว่าครึ่งตัว  หมอศัลยกรรมพลาสติค  Dr. Mark Gorney  จาก  San Francisco
อาสาสมัครประจำอยู่ที่ โรงพยาบาลศัลยกรรมเด็ก Barksy ในกรุงไซ่ง่อนกล่าวว่า 'เธอไม่น่าจะ
อยู่รอดได้ ตอนแรกคางของเธอเชื่อมติดกับหน้าอกโดยเนื้อเยื่อจากแผลเป็นแขนซ้ายของเธอไหม้
จนถึงกระดูก'  ด้วยความรักของแม่ที่คอยดูแลอยู่ข้างเตียง เธอค่อย ๆ ฟื้นตัวและตัดสินใจว่าโตขึ้น
เธอจะเป็นหมอเหมือนผู้ที่ช่วยชีวิตเธอ  หลังจากรักษาตัวอยู่ ๒ ปีเธอจึงได้กลับบ้านและเวียตนาม
ใต้ก็ถูกปกครองโดยคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘     ชื่อของกรุงไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนเป็นโฮจิมินห์


๒๑ ปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๙
คิม ฟุค ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกัน ซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญให้มาพูด
เนื่องในวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.


เธอได้มาเผชิญหน้ากับบุคคล    ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ  ทำให้
ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย  และเกือบฆ่าเธอให้ตายไปด้วยนั้น  ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจได้ง่าย
แต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่า   สงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง


คิม ฟุค เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้วเธอก็ได้เผยความใน
ใจว่ามีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้าน
ของเธอ


พูดมาถึงตรงนี้  ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า  คนที่เธอต้องการพบ
กำลังนั่งอยู่ ในห้องประชุมนี้      
เธอจึงเผยความในใจ  ออกมาว่า
'
ฉันอยากบอกเขาว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้
แต่เราควรพยายามทำสิ่งดี ๆ   เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ทั้งใ นปัจุบัน
และอนาคต'


เมื่อเธอบรรยายเสร็จ  ลงมาจากเวที  อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอ เขามิใช่ทหาร
อีกต่อไปแล้ว  แต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง


เขาพูด  ด้วยสีหน้าเจ็บปวด ว่า
'
ผมขอโทษ ผมขอโทษจริงๆ'


คิม เข้าไป โอบกอดเขา   แล้วตอบว่า
'
ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย'


ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย      โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเรา
ปางตาย       คิมฟุคเล่าว่า  เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมาน
แก่เธอทั้งกายและทั้งใจ     จนเธอเอง     ก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ได้อย่างไร


แต่แล้ว เธอก็พบว่า   สิ่งที่ทำร้ายเธอจริงๆ  มิใช่ใครที่ไหน  หาก
ได้แก่ความเกลียดชังที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง


'
ฉันพบว่า   การบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้  สามารถฆ่าฉันได้ '

เธอพยายามสวดมนต์  และแผ่เมตตาให้ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอ
แล้วเธอก็พบว่า
'
หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด'
เราไม่อาจควบคุมกำกับผู้คน   ให้ทำดี  หรือไม่ทำชั่วกับเราได้  
แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเราได้


เราไม่อาจเลือกได้ว่า รอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารัก พูดจาอ่อนหวาน
แต่เราสามารถเลือกได้ว่า  จะทำใจอย่างไร เมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา
คิมฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า
'
ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตฉันก็ดีขึ้น'

บทเรียนของคิมฟุค  คือ
ในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต
แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตเพื่อทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้
บทเรียนจากอดีตอย่างหนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มาก็คือ  
การอยู่กับความโกรธ เกลียด และความขมขื่น นั้น
ทำให้เธอเห็นคุณค่าของการ ให้ อภัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น