| ประการด่านแรกของการบินข้ามพรหมแดนไปเรียนต่อต่างประเทศก็คือ การสอบความถนัดทางภาษาอังกฤษให้ได้มาตรฐานสากล อาทิ IELTS, TOEFL, TOEIC ฯลฯ และทุกการสอบนี้มีความจำเป็นจะต้องเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษด้วยเสมอๆ โอกาสนี้จึงอยากนำเสนอเว็บไซต์ที่จะเป็นผู้ช่วยในการฝึกฝนการเขียนบทความภาษาอังกฤษกับผู้ใฝ่รู้ทุกท่าน PaperRater.com คือ เว็บไซต์ที่ช่วยให้คุณสามารถประเมินผลการเขียนบทความภาษาอังกฤษของตัวเองได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งเว็บไซต์นี้มีการใช้สารพัดเทคโนโลยีขั้นสูงในวงการภาษาศาสตร์ อาทิ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ สมองกลอัจฉริยะ ฯลฯ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการสะกด ไวยากรณ์ รวมถึงการตรวจสอบว่ามีคัดลอกบทความของคนอื่นมาประกอบหรือไม่ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งยังไม่ต้องสมัครสมาชิก และเสียค่าใช้จ่ายใดๆ วิธีใช้งานตรวจทานบทความภาษาอังกฤษด้วย PaperRater
|
| 1. กรอกชื่อหัวข้อของบทความ (Title) 2. คัดลอกบทความที่อยู่ในไฟล์เอกสารมาแปะไว้ที่นี่ (กด ctrl+a เพื่อคัดลอกทั้งหมด และกด ctrl+v เพื่อวางบทความทั้งหมด) 3. กรอกแหล่งอ้างอิง หรือที่มาของบทความ 4. เลือกรูปแบบของบทความ อันได้แก่ งานวิจัย (Research Paper), เล่าเรื่องส่วนตัว (Personal Narrative), เขียนเรียงความ (Essay), เขียนรายงาน (Book Report), คำปาฐกาถา (Speech, Presentation), เรื่องสั้น (Short Story), รีวิวหนัง (Movie Review), อื่นๆ (Other) 5. ติ๊กถูกหน้ากล่องข้อความ เพื่อยืนยันให้ระบบตรวจทานบทความของเรา วิธีการดูผลการตรวจทานบทความ
|
| ที่เมนูด้านขวามือจะมีมาตรวัดบทความทั้ง 6 ส่วน ได้แก่
|
| 1. การตรวจสอบว่าเป็นบทความต้นฉบับ ไม่ได้คัดลอกจากที่ใดมา (Originality / Plagiarism Detection) 2. การตรวจสอบการสะกด (Spelling) ถ้าสะกดผิด คำนั้นจะถูกขีดเส้นใต้ด้วยสีแดง 3. ตรวจสอบไวยากรณ์ (Grammar) ถ้ามีการใช้แกรมม่าผิด คำนั้นจะถูกขีดเส้นใต้ด้วยสีเขียว 4. การเลือกใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย (Word Choice) ถ้าคำศัพท์ที่เลือกใช้ดูธรรมดาไป จะถูกขีดเส้นใต้ด้วยสีน้ำเงิน และเมื่อคลิก ก็จะมีคำศัพท์ที่เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับปรากฏขึ้นมาให้เลือก 5. สไตล์การเขียน (Style) จะมีการคำนวนคำศัพท์ที่มีการเขียน เป็นจำนวนตัวอักษร จำนวนคำ การใช้คำเชื่อมประโยค เพื่อให้เนื้อหามีความสละสลวยมากยิ่งขึ้น
|
| 6. การเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสมกับบทความ (Vocabulary Words) เช่น การเขียนเชิงข่าว จะต้องใช้ศัพท์ทางการ เป็นต้น ต่อจากนี้ "การตรวจ Essay" ที่ดูเป็นงานที่น่าเบื่อสำหรับอาจารย์ แต่ก็เป็นความกังวลใจสูงสุดสำหรับผู้เรียน ก็ได้ผู้ช่วยคนใหม่แล้ว ซึ่งถ้าอยากเก่งอังกฤษ วิธีเบสิกก็ต้องต้องเริ่มจากขยันคิด ขยันเขียน ข้อดี * ใช้งานง่าย ไม่ต้องสมัครสมาชิก และไม่มีค่าใช้จ่าย * ประมวลผลบทความได้รวดเร็ว * มีรูปแบบการประเมินผลบทความมากมาย เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานเขียนในอนาคต ข้อเสีย * การตรวจสอบความเป็นต้นฉบับของบทความ ที่พิสูจน์ว่าไม่ได้ลอกจากที่ใดมานั้นยังทำได้ไม่ดีนัก เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ PaperRater เว็บไซต์นี้พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาด้านภาษาศาสตร์ เพื่อหวังจะให้เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่สะดวกที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการปรับปรุงการเขียนภาษาอังกฤษของตน บริการนี้มีการใช้ใน 46 ประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่นำมาตรวจทานบทความแต่ละชิ้นนั้น ผสานระหว่างเทคโนโลยีประมวผลภาษาธรรมชาติ Natural Language Processing: NLP), สมองกลอัจฉริยะ (Artificial intelligence: AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) การสืบค้นสารสนเทศ (Information retrieval: IR), ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics) , การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) และ เทคนิคการจับคู่โดยอาศัยรูปแบบของคำที่เหมือนกันโดยสมองกล (Advanced Pattern Matching: APM)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 19 มีนาคม 2553 17:12 น |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น