Meeting Party ทุกศุกร์แรกของเดือน ณ iOffice หน้ากองบิน 41 เชียงใหม่

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

อัจฉริยะสร้างได้จริง ๆ

คุณหนูดี – วนิษา เรซ 
การศึกษา  ปริญญาตรี เกียรตินิยมด้านครอบครัวศึกษา Family  Studies มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค สหรัฐอเมริกา
ปริญญาโทเกียรตินิยมด้านวิทยาการทางสมอง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน  ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ (คนเดียวในไทย)
ผู้ชนะล้านที่ 15 รายการ "อัจฉริยะข้ามคืน"
 
ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด
 www.geniuscreator.com
ผู้อำนวยการโรงเรียนวนิษา
 www.vanessa.ac.th

 

เทคนิคการจัดการเวลา หรือ กฎการจัดการเวลา 
คนที่ประสบความสำเร็จของทุกๆ เรื่องจะเห็นได้ว่า ปฏิบัติตามกฎ 20:80 
ยกตัวอย่างในบางเรื่อง จะเป็น สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ 20 % และเรื่องไร้สาระ 80% คนที่ประสบความสำเร็จจะเลือกทำ 20% ที่เราต้องทำจริงๆ ก่อน ในขณะที่เราจะเลือกทำเรื่องไร้สาระก่อน ทำให้ละเลย สิ่งที่เราต้องทำจริงๆ ไป ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ ต้องลองปรับมาลงมือทำที่ต้องทำจริงๆ ก่อน
  เช่น ต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ ทบทวน 20% ส่วนการเช็คเมล์ แชทกับเพื่อน ถือเป็น 80% เป็นต้น 

เทคนิคการเก็งข้อสอบ
 
-
 เข้าห้องเรียนทุกครั้ง นั่นเป็นทางลัดที่สุด เพราะใน 1 วิชา มีเนื้อหาสาระมากมาย การเข้าห้องเรียนจะทำให้ทราบว่า อาจารย์จะเลือกตรงไหนมาสอน นั่นคือ เนื้อหาความสำคัญของวิชานั้นๆ 
-
 สังเกตว่าอาจารย์พูดเนื้อหาตรงไหน หรือย้ำเน้น ตรงไหน เพราะอาจารย์จะพูดในสาระสำคัญเสมอ และนั่นคือ ข้อสอบ

 เทคนิคการเรียนดี
- หยุดการ online โดยสิ้นเชิง จนกว่าเราจะควบคุมตัวเองได้ หรือ online เพื่อหาข้อมูลทางวิชาการเท่านั้น เพราะเราจะเบนความสนใจไป ขอเช็คเมล์นิดหน่อย  เข้าเว็บไซต์เพื่อการพักผ่อน เล่นเกมอีก ทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ หากต้องการเช็คเมล์หรือเข้าเว็บเพื่อการพักผ่อน ควรตั้งเวลานาฬิกาปลุกไว้ จำกัดเวลา สัก 15 นาที แล้วหันกลับมาสนใจการเรียน อ่านหนังสือต่อไป
-
 งดการใช้โทรศัพท์เพื่อสังคมครั้งละนานๆ เรามักจะเสียเวลาคุยโทรศัพท์กับเพื่อน แฟน เพื่อการสังคม ขอให้แจ้งเพื่อนๆ ทุกคน และแฟนล่วงหน้าว่า เราต้องท่องหนังสือเตรียมสอบ ไม่สามารถคุยโทรศัพท์ครั้งละนานๆ ได้ หากนานเกินไป ให้ช่วยเตือนด้วย ซึ่งได้ผลดี เพราะเพื่อนจะช่วยเตือนจริงๆ ว่าคุยนานแล้ว ควรวางสาย และอ่านหนังสือได้แล้ว
-
 เมื่อเราได้หนังสือเรียนมาตอนต้นเทอม เราควรอ่านหนังสือตั้งแต่ต้นเทอม ทำให้เมื่อปลายเทอมเราจะมีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อย่างสบายๆ

เทคนิคการอ่านหนังสือ
- วันแรกของเปิดเทอมให้ตั้งหนังสือทั้งหมดทุกเล่ม แล้วอ่านตั้งแต่วันแรกเลย 
-
 ทำปฏิทินการท่องหนังสือ ติดไว้ที่โต๊ะหนังสือ หัวนอนหรือที่เห็นสะดวก โดยซื้อหรือทำปฏิทินที่เป็นตารางแบบใหญ่มาสามารถเขียนตัวหนังสือได้ มาก 
โดย 1 ปี แบ่งเป็น 4 เดือน / 4 เดือน / 4 เดือน
 
ระยะเวลา 1 เทอม มีทั้งหมด 4 เดือน ให้ติดไว้ทั้ง 4 เดือน เราจะเห็นวันเสาร์ อาทิตย์ในแต่ละเดือน ให้วางแผนว่าจะทำอะไรบ้าง เช่น อ่านหนังสือ ทำแบบฝึกหัด ทำกิจกรรมอื่นๆ เราจะมองภาพรวมของแต่ละเทอมได้ชัดขึ้น
 
-
 หากทราบกำหนดสอบปลายภาคของแต่ละเทอม เราสามารถคำนวณย้อนหลังในการวางแผนอ่านหนังสือสอบได้ด้วย  มหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะแจ้งตารางสอบให้ทราบตั้งแต่วันแรกที่เรียน แต่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยอาจจะมีบางแห่ง หากเราได้รับแจ้งวันสอบ น้องๆ วางแผนล่วงหน้าการดูหนังสือย้อนหลังได้เลย

การทำให้ความรู้เป็นความทรงจำระยะยาว  
สมองมีความทรงจำระยะสั้น และระยะยาว ความทรงจำระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น เราท่องจำ อ่านหนังสือ ข้ามวันข้ามคืน โดยไม่นอนเลย แล้วไปสอบ ทำคะแนนได้ดี แต่ภายใน 1-2 สัปดาห์ลืมเนื้อหาหมด เพราะสมองจำข้อมูลได้ไม่เกิน 7 ข้อมูล นอกจากน้องๆ จะจดบันทึกแล้วนำมาอ่านทบทวน การอ่านซ้ำๆ จะทำให้ความรู้อยู่ในความทรงจำระยะยาว

สมองจะบันทึกความจำไว้ในเวลาที่เราหลับ ยิ่งเราหลับลึกจะทำให้จำได้ดี น้องๆ ควรพักผ่อนนอนหลับไม่เกิน 4 ทุ่ม ประมาณ 3 ทุ่มกว่าๆ ควรสรุปงานต่างๆ เพื่อนอนให้ได้ภายในเวลา 4 ทุ่ม และยิ่งเราพักผ่อนได้ไม่เกิน 4 ทุ่มจะทำให้ความรู้ที่ได้รับเป็นความทรงจำระยะยาว เพราะฉะนั้นไม่ควรอ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ

เทคนิคการอ่านเร็ว
- การเริ่มต้นอ่านหนังสือ อย่าอ่านจากหน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายอย่างละเอียด ให้เริ่มจากการอ่านผ่านๆ ดูที่ Bullet หรือตัวหนังสือของแต่ละหน้า ที่เป็นตัวใหญ่ ตัวเน้นสีดำก่อน  ควรอ่านไม่ใช้เวลามากเกิน 10 นาที 
-
 อย่าอ่านสิ่งที่เราอยากรู้ หรือรู้แล้ว ให้เลี่ยงไปอ่านสิ่งที่เรายังไม่รู้หรือไม่เข้าใจก่อน 
-
 หากไม่เข้าใจเนื้อหาให้เรียนถามคุณครูหรือถามเพื่อน  การถามเพื่อนจะให้คำอธิบายด้วยภาษาเดียวกันเข้าใจง่าย แต่ดีที่สุดคือ เรียนถามคุณครูจะดีกว่า โดยเฉพาะคุณครูผู้ออกข้อสอบหรือครูผู้สอน
-
 ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจะต้องมีกระดาษหรือสมุดจด ปากกาหลากสี โดยควรอ่านพร้อมจดบันทึกโน้ตย่อด้วย หรือทำ Mind Map หลังจากนั้นจึงมาทบทวนภายหลังจากโน้ตย่อ
 
-
 หัดทำ Mind Map จะทำให้จดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น 
-
 การใช้ปากกาหลากสี จะทำให้จดจำรวดเร็วขึ้น ควรแยกกลุ่มข้อมูล โดยใช้สีต่างกัน 
-
 ติดโน้ตย่อไว้ให้เห็นง่ายๆ เพื่อการทบทวน

หากอ่านหนังสือแล้วง่วงนอน
คุณ หนูดี แนะนำว่าให้เข้านอนเลย เพราะอ่านไปจะไม่รู้เรื่อง แล้วจึงตื่นมาอ่านตอนเช้าตรู่ ดังนาฬิกาชีวิตที่ร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วง 4 ทุ่ม ซึ่งประมาณ ตี 3 ร่างกายจะเริ่มทำงาน เช่น ปอด ฉะนั้น เราสามารถตื่นนอนได้ตั้งแต่ ตี 3 เป็นต้นไป แต่หากตื่นไม่ไหว (คุณ หนูดี ไม่ได้ตื่นมาอ่านหนังสือตอนตี 3 เหมือนกันค่ะ)  ตื่นประมาณ 04.30 น.หรือ 05.00 น. ก็ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น