Meeting Party ทุกศุกร์แรกของเดือน ณ iOffice หน้ากองบิน 41 เชียงใหม่

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทดสอบ IQ การเอาตัวรอด

คุณ ทำได้.... 
ลองจินตนาการว่าคุณอยู่ในแอฟริกา และถูกมัดไว้ กับกิ่งไม้หัวห้อยลงกับพื้น เชือกที่มัดคุณถูกผูกติดไว้กับหลักยึด ที่พื้นโดยมีไฟจากเทียนไขค่อยๆ เผาเชือกที่ละนิดๆ และเมื่อเชือกขาดโอกาสที่คุณจะรอดน้อยเต็มที เพราะเมื่อเชือกขาด คุณ จะ ตกลงมาที่พื้น สิงโต ที่กำลังรอคุณอยู่ใต้ต้นไม้ ก็พร้อมที่จะขย้ำคุณเป็นอาหาร   ทีนี้คุณจะทำอย่างไร ??? ( ดูภาพ 


คิด ... 
คิด ... 
คิดก่อนเลื่อนลงไปดูคำตอบ 



! . 






อย่าเพิ่งดูเฉลยนะ 
คิด 
คิด 



.. 


.. 

คิด 
คิด 



.. 


.. 





.. 

.. 


ยังต้องคิดอยู่ 


.. 


คิด คิด 

.. 


.. 

อ่ะ อ่ะ 


.. 


เฉลย : 
Happy Birthday to you, Happy Birthday to you,… …………………. ก็ร้องเพลง Happy Birthday ซิคร้า บบบบบบบบบบบ ...........  
แล้วสิงโต ก็จะไปเป่าเทียนไขไง 
… 


Re: ทดสอบ IQ การเอาตัวรอด

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_250fzmt7rc8&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Re: เคล็ดลับรักษาสุขภาพ

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_250dhb93kfz&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

เคล็ดลับรักษาสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Re: spezify l ค้นหาเพลินตากับสารพันข้อมูลในหน้าเว็บเดียว

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_248frcbrncg&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

spezify l ค้นหาเพลินตากับสารพันข้อมูลในหน้าเว็บเดียว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กุมภาพันธ์ 2553 11:16 น.
       

       "กูเกิล.คอม" กับคนไทยเหมือนเป็นญาติสนิทกันมาตั้งแต่ภพก่อน เพราะทุกๆ วันจะต้องเข้าไปค้นหาข้อมูลหลายๆ ครั้งจนทำให้เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ที่คนไทยเข้ามากที่สุดในประเทศไปแล้ว
       
       อย่างไรก็ดี หากต้องการจะค้นหาข้อมูลหลายประเภท อาทิ ภาพ เสียง วิดีโอ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์พร้อมๆ กันในหน้าเว็บเดียวกูเกิลอาจจะไม่ใช่วิธีที่เร็วที่สุด เพราะต้องคลิกอยู่หลายทีเพื่อจะได้ข้อมูลเหล่านั้นมา
       
       โอกาสนี้จึงขอเสนอเว็บค้นหาทางเลือกที่นอกจากจะได้ข้อมูลมากมายในคลิกเดียวแล้ว ยังมีรูปแบบการแสดงผลที่ลดอาการเซ็งเมื่อเกิดภาวะข้อมูลโอเวอร์โหลดได้อีกด้วย
       
       
spezify.com คือ เว็บไซต์ค้นหาข้อมูลหลายประเภท อาทิ ภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความทวีตจากทวิตเตอร์ ฯลฯ โดยดึงเอาข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลชื่อดังมาอีกทอดหนึ่ง อาทิ ยาฮู ยูทูบ ฟลิกเกอร์ ฯลฯ เพื่อมาแสดงผลในรูปแบบของภาพ ทำให้ง่ายต่อการรับรู้ข้อมูลแบบทันท่วงที จึงสามารถเรียกบริการของ spezify ว่าเป็น Visualized Meta Search engine ก็จะตรงตัวที่สุด

       

       วิธีการใช้งาน spezify
       
       1. พิมพ์คำค้นหา ภาษาไทย อังกฤษ หรือภาษาใดๆ ก็ได้ในช่องค้นหา
       2. จะมีการแสดงผลลัพธ์จากเว็บค้นหาข้อมูลมากมาย ดังนี้
       
       
ค้นหาเว็บไซต์ จะนำข้อมูลมาจาก Yahoo.com, MSN.com
       
ค้นหาข้อมูล จะนำข้อมูลมาจาก Wikipedia.org, Twitter.com, Digg.com, Collecta.com
       
ค้นหารูปภาพ จะนำข้อมูลมาจาก Flickr.com
       
ค้นหาวิดีโอ จะนำข้อมูลมาจาก YouTube.com
       
ค้นหาชื่อสินค้า จะนำข้อมูลมาจาก eBay.com, Amazon.com,
       
ค้นหาไฟล์เสียงและเพลง จะนำข้อมูลมาจาก Soundcloud.com
       
       โดยคุณสามารถปรับผลการค้นหาให้เหลือเฉพาะข้อมูลแต่ละประเภทโดยคลิกที่ไอค่อนที่แถบเครื่องมือมุมขวาบน และสามารถปรับลดเว็บไซต์ค้นหาที่ไม่ต้องการออกได้โดยกดที่ 
"ปุ่มรูปไขขวง" ที่มุมขวาเช่นกัน
       
       และเมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นว่ามี
คำที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา (Related words) ปรากฎให้ด้วย ตรงจุดนี้ ถ้าคุณต้องการเพิ่มคำเหล่านี้ในการค้นหาให้กดที่ปุ่มเครื่องหมายบวก (+) แต่ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนใจไปค้นหาคำเหล่านี้แทน ก็ให้กดที่ชื่อคำนั้นๆ เลย
       
       3. เมื่อต้องการดูข้อมูลใดๆ ที่ค้นหามาได้ก็เพียงคลิกที่รูป หรือข้อความนั้นๆ ก็จะเปิดเป็นหน้าต่างใหม่ให้คุณดูภาพ หรืออ่านข้อความที่เกี่ยวข้องได้ทันที และเมื่อคุณต้องการที่จะ
ปิดหน้าต่างนี้ ก็ให้คลิกพื้นที่อื่นๆ ของเว็บ หน้าต่างก็จะปิดให้ทันที

       

       ระหว่างนี้คุณสามารถกดปุ่ม "รูปดาว" เพื่อเก็บผลการค้นหานี้เอาไว้ดูภายหลังได้ หรือคลิกที่ปุ่มขวามือที่มีชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อลิงก์ไปยังเว็บที่มีเนื้อหาต้นฉบับได้

       

       นอกจากเม้าส์ที่จะเป็นการควบคุมทิศทางในการลากหน้าจอไปมาเพื่อดูผลการค้นหาแบบไม่รู้จบแล้ว คุณยังสามารถกดปุ่มลูกศรขึ้นลงแทนเม้าส์ได้อีกด้วย
       
       เมื่อวันนี้ถึงยุคที่อินเทอร์เน็ตและเว็บค้นหาข้อมูลผูกติดกับตัวเราแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าระดับความรู้ของคนทั่วโลกถูกปรับให้อยู่ในระนาบเดียวกัน 
ฉะนั้นไม่มีใครในโลกรู้มากกว่าใคร แต่คนที่ชนะคือคนที่รู้ข้อมูลได้ไว และลึกว่านั่นเอง จึงอาจกล่าวได้ว่า spezify คือ ตัวเลือกใหม่ของการเป็นเครื่องมือค้นหาที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณรับรู้ข้อมูลแบบภาพรวมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังทำงานได้ไว และช่วยให้คุณเพลิดเพลินใจเวลาที่ต้องดำดิ่งหาข้อมูลหลายๆ ชั่วโมง
       

       ข้อดี
       

       * ค้นหาข้อมูลจากคำค้นหาทุกภาษา
       * อินเทอร์เน็ตที่ความเร็วเฉลี่ย 3 เมกะไบต์ ก็สามารถหาข้อมูลได้คล่องมือ
       * ไม่ต้องสมัครสมาชิก
       * บันทึกผลการค้นหาชั่วคราวได้
       

       ข้อเสีย
       

       * ไม่สามารถเลือกช่วงเวลาแสดงผลการค้นหาในระยะเวลาต่างๆ ได้ เช่น 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือรอบสัปดาห์ เป็นต้น
       * เนื่องจากเว็บไซต์ใช้การทำงานบนแฟลช จึงทำให้ผลการค้นหาที่เป็นข้อความไม่สามารถคลิกขวาเพื่อคัดลอกข้อความได้ ทำให้ต้องเปิดไปยังเนื้อหาต้นฉบับอีกครั้ง
       

       เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ Spezify
       
       
Spezify ก่อตั้งโดย 2 ผู้บริหาร ได้แก่ Felix af Ekenstam และ Per Persson จากสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ที่มีประสบการณ์นับทศวรรษในวงการดิจิตอล เว็บนี้เปิดตัวตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เคยได้รับรางวัลเว็บค้นหาข้อมูลดาวรุ่งของยุโรปเหนือหลังจากปลดป้ายเว็บไซต์เวอร์ชันทดสอบได้ไม่นาน และขณะนี้กำลังเตรียมพัฒนาให้เว็บสามารถใช้งานบนไอโฟนและไอแพดได้อีกด้วย
       
       
Company Related Links :
       
Spezify

Re: 7 เว็บค้นหาที่เก่งกาจกว่ากูเกิล

เอกสารนี้ถูกนำเข้ามายัง Google Documents ในชื่อของคุณ:
http://docs.google.com/Doc?id=dcgbc9mf_247h2jrqzhc&invite=
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ทีม Google Documents

7 เว็บค้นหาที่เก่งกาจกว่ากูเกิล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2552 16:34 น.
       

       คนทั่วโลกรู้จักและติดใจ "กูเกิล" จนทำให้คำว่า "กูเกิล" ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชื่อแบรนด์ของบริษัทอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก แต่กลับเป็นชื่อของ "กริยา" ในการค้นหาข้อมูลบนโลกไซเบอร์ไปเสียแล้ว จึงมีคำพูดติดปากชาวเน็ตเวลาที่หาข้อมูลใดๆ ไม่เจอว่า "ลองกูเกิลดูหรือยัง?"
       
       แต่วันนี้เรามี
เว็บค้นหาที่เป็นทางเลือกใหม่ (Alternative Search Engine) สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ของสิ่งที่ต้องการค้นหาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น หารูปก็จะได้รูป หาเพลงก็จะได้ฟังเพลง หาเอกสารก็จะได้ไฟล์ PDF โดยที่ไม่ต้องคลิกสารพัดลิงก์ไปมา พร้อมสแกนกันจนปวดตาอีกทีหนึ่ง
       
       อย่างไรก็ดี สำหรับเซียนคอมฯ ที่รู้จักวิธีการ 
"แฮกกูเกิล" ด้วยการใส่โค้ดลับหลายสิบตัวลงไปในช่องค้นหาเพื่อที่จะได้ข้อมูลใดๆ จากกูเกิล ก็อยากให้มาลองใช้เว็บที่เราแนะนำในครั้งนี้ ไม่แน่อาจจะติดใจวิธีค้นหาแบบบ้านๆ แต่ได้ผลชะงัดก็เป็นได้
       
       เว็บที่เราจะแนะนำในครั้งนี้จะแบ่งผลการค้นหาออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 
การค้นหา ภาพ เพลง วิดีโอ และเอกสาร
       
       ถ้าคิดคีย์เวิร์ดเจ๋งๆ ได้แล้วก็ลุยกันเลย!

       ค้นหาเพลง
       

       
www.songza.com
       
       เป็นเว็บไซต์ที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายๆ ทุกครั้งที่พิมพ์คำค้นหาจะมีคำใกล้เคียงขึ้นมาแสดงให้ด้วย และทุกเพลงจะสามารถดูมิวสิกวิดีโอประกอบไปด้วยได้ เพราะเพลงที่ได้ฟังนั้นเป็นการดึงเสียงเพลงมาจากเว็บวิดีโอชื่อดังต่างๆ นั่นเอง สุดท้ายก็คือ สามารถคัดลอกโค้ดเพลงไปติดไว้ที่บล็อกของตัวเองได้อีกด้วย
       
       
www.midomi.com
       
       สำหรับคนที่มักประสบปัญหาอยากฟังเพลงใดเพลงหนึ่ง กลับนึกชื่อเพลงไม่ออก แต่สามารถร้องเพลงนั้นได้ เว็บนี้ก็เหมาะกับคุณเป็นที่สุด เพียงแค่คอมพิวเตอร์ของคุณมีไมค์ และ
เปล่งเสียงของตัวเองร้องเพลงนั้น ท่อนใดก็ได้ ประมาณ 10 วินาที ระบบก็จะค้นหาเพลงนั้นๆ หรือเพลงใกล้เคียงมาให้ด้วย
       

       จากที่ทดลองสามารถหาเพลงทั้งไทย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และฝรั่งได้หมด นอกจากนี้แล้วคุณยังฟังเสียงร้องเพลงของผู้ใช้คนอื่นๆ ที่ร่วมหาเพลงๆเดียวกับคุณได้ด้วย โดยคลิกที่ปุ่ม 
Play All Recordings
       
       
หมายเหตุ: 
       1. เมื่อใช้ครั้งแรก หลังจากคลิกที่ปุ่ม 
"Click and Sing or Hum" จะมีหน้าต่างเล็กๆ เปิดขึ้นมา โดยที่คุณจะต้องกด จะต้องกดปุ่ม "Allow" กับ Adobe Flash Player Setting ก่อน
       
       2. ผู้ที่ใช้ไอโฟนสามารถโหลดโปรแกรมของ 
midomi มาลงที่เครื่องและใช้งานแบบเดียวกับการค้นหาเพลงผ่านเว็บด้วยการฮัม หรือร้องเพลงได้เลย ที่นี่  

       ค้นหารูป
       

       ก่อนอื่นต้องเรียนก่อนว่า การค้นหารูปนั้นควรจะใช้คำค้นหา (keywords) ที่เป็นภาษาอังกฤษ เพราะจะได้ผลลัพธ์มากกว่าภาษาไทย และเว็บที่เราอยากจะแนะนำสำหรับการค้นหารูป นั้น มี 2 รูปแบบ คือ 
ภาพถ่ายฝีมือช่างภาพมืออาชีพ และมือสมัครเล่น
       

       
       
www.compfight.com
       
       เว็บไซต์นี้จะค้นหาภาพโดยการดึงเอารูปภาพจากคลังภาพออนไลน์อย่าง 
ฟลิกเกอร์ (Flickr) ที่เปิดให้ใครก็ได้มาเก็บภาพไว้ที่นี่ (จึงทำให้เว็บไซต์ฟลิกเกอร์เป็นเว็บไซต์แกลอรี่ภาพจากมือสมัครเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
       
       โดยผลการค้นหาของ compfight จะต่างจากการค้นหาที่เว็บฟลิกเกอร์ต้นฉบับก็คือ การแสดงผลภาพเป็นร้อยๆ ภาพในคราวเดียว ทำให้เลือกภาพได้ไวยิ่งขึ้น และยังสามารถปรับแต่งการค้นหาได้มากมาย เช่น การค้นหาจากชื่อ และรายละเอียดของภาพ หรือการค้นหาจากป้ายกำกับภาพ (Tags),การค้นหาภาพตามรูปแบบลิขสิทธ์ (Creative Commons), การค้นหาเฉพาะภาพที่มีความละเอียดสูง, และการค้นหาเฉพาะภาพที่เหมาะสมกับเยาวชน เป็นต้น
       
       
www.spffy.com
       
       เว็บนี้เป็นการค้นหาภาพที่ถ่ายจากมืออาชีพจริงๆ โดยค้นหาครั้งเดียว สามารถดูภาพจากคลังภาพออนไลน์เพื่อการใช้งานทางการค้า ที่มีชื่อเสียงอย่าง Getty Images, Corbis, Fotolia ฯลฯ ได้เลย ซึ่งเมื่อใดที่คุณพบภาพที่ต้องการสามารถสั่งซื้อภาพนั้นๆได้ทันที เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาภาพประกอบเพื่อใช้งานเชิงพาณิชย์

       ค้นหาเอกสาร
       
       
www.data-sheet.net
       

       เว็บไซต์นี้มีหน้าตาเรียบๆ ไม่ต่างไปจาก "กูเกิล" แต่จะ
แสดงผลการค้นหาเป็นไฟล์เอกสารนามสกุล PDF เท่านั้น คุณสามารถพิมพ์คำค้นหาทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ เมื่อเจอผลการค้นหาใดที่ต้องการดาวน์โหลด ให้คลิกขวา และเลือก Save Link As ได้ทันที ก็จะได้ไฟล์เอกสารมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ทันที
       
       เท่านั้นยังไม่พอเว็บไซต์นี้ยังมีผลการค้นหาในรูปแบบของภาพแถมเพิ่มมาที่ด้านล่างสุดของหน้าเพจแต่ละหน้าด้วย
       
       นอกจากนี้แล้วก็ยังมีเว็บไซต์ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าไปอัปโหลดไฟล์เอกสารของตนเองที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้นำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ 
Scribd (ที่เราเคยรีวิวไปก่อนหน้านี้)

       ค้นหาวิดีโอ
       
www.truveo.com
       

       เป็นธรรมดาที่ความรู้สึกของคนส่วนใหญ่จะคิดว่า 
"ยูทูบ (YouTube)" คือ สุดยอดเว็บวิดีโอสำหรับทศวรรษใหม่ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่อีกหลายมุมของโลกนี้ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์วิดีโอ ที่เปิดให้ใครก็ได้มาอัปโหลดผลงานวิดีโอของตนเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ อาทิ Daily Motion (ของฝรั่งเศส), Tudou (ของจีน) และอื่นๆ อีกมาก
       
       ดังนั้นจะดีแค่ไหนที่เราสามารถพิมพ์คำที่ต้องการหาแค่ครั้งเดียวแต่สามารถค้นหาได้
กว่า 40 เว็บไซต์ที่เก็บวิดีโอเอาไว้!
       
       ต้องขอบคุณ truveo จากบริษัทเอโอแอล (AOL) ที่ตั้งตนเป็นเว็บค้นหาวิดีโอโดยเฉพาะ โดยเว็บไซต์นี้จะดึงผลวิดีโอของกว่า 40 เว็บวิดีโอชื่อดังมาแสดงไว้ที่นี่ นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาวิดีโอคลิปของ หนัง กีฬา ซีรีส์ดัง อย่าง ฮีโร่ (Heroes), ลอส (Lost) หรือแม้กระทั่งเรียลริตี้อเมริกันชื่อดังอย่าง อเมริกัน ไอดอล (American Idol) และ เฮล คิทเช่น (Hell's Kitchen) ได้
       
       อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ในทุกครั้งที่คุณต้องการชมวิดีโอใดๆ ก็จะมีการลิงก์กลับไปยังเว็บต้นตอวิดีโออีกครั้งหนึ่ง

       ค้นหาแบบมีรสชาติ
       
www.viewzi.com
       
       Viewzi คือ เว็บค้นหาที่จะทำให้คุณลืมหน้าตาของ 
"กูเกิล.คอม" ไปแทบจะทันที ด้วยการแสดงผลการค้นหาที่หวือหวาและน่าตื่นเต้น ทั้งภาพ ข้อมูล และวิดีโอ ที่แตกต่างกันไปถึง 16 แบบ ทำให้คุณเพลิดเพลินกับการเซิร์ฟเน็ตอย่างหยุดไม่อยู่ อาทิ การแสดงผลการค้นหาตามลำดับเวลา (Timeline) การค้นหาข่าวที่แสดงผลเหมือนหน้าหนังสือพิมพ์ การดูภาพแบบสไลด์โชว์ การค้นหาเมนูอาหารน่าหม่ำ เป็นต้น

       

       ถึงแม้หลายเว็บไซต์ที่เราแนะนำไปข้างต้นจะอ้างอิงผลการค้นหาจากกูเกิล แต่ผู้ทำเว็บก็มีการตกแต่งผลการค้นหาให้แม่นยำ ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยวิธีการใช้งานก็ยังง่ายเหมือนเดิม คือเพียงพิมพ์คำค้นหาลงไป
       
       ฉะนั้นในโอกาสต่อไป ขอแค่มีอินเทอร์เน็ตอยู่ตรงหน้า ไม่ว่าอะไรๆ คุณก็จะหาเจอแน่นอน!